แก้วมังกร ฟันน้ำนม

แก้วมังกร คนท้องรับประทานได้หรือไม่? ปลอดภัยกับลูกในครรภ์รึเปล่า?

               แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีคุณแม่หลายท่านมักสงสัยว่า คนท้องรับประทานได้หรือไม่? ปลอดภัยกับลูกน้อยในครรภ์รึเปล่า? คำตอบคือ “คนท้องสามารถรับประทานได้” แถมมีประโยชน์สำหรับคนท้องและลูกในครรภ์เลยทีเดียว ถ้าพร้อมแล้วมาดูประโยชน์ของแก้วมังกรกันเลย

ประโยชน์ของแก้วมังกร  

1. ป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารก คือ แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีโฟเลทสูง ซึ่งช่วยเรื่องระบบประสาทและสมองของเด็ก คุณแม่ควรได้รับโฟเลทตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ นอกจากนั้นแก้วมังกรยังประกอบไปด้วยวิตามินหลายชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

2. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันของคุณแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และยังช่วยในการสร้างกระดูกของทารกด้วย

3. ช่วยในการทำงานของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง แก้วมังกรอุดมไปด้วยแร่ธาตุเหล็กและวิตามินซี ซึ่งช่วยในการทำงานของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงในระหว่างการตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางได้  

4. ช่วยรักษาอาการท้องผูก เนื่องจากแก้วมังกรมีไฟเบอร์เป็นองค์ประกอบ ช่วยระบบการย่อยอาหาร ทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ ป้องกันการเกิดอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์  

5. ป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์ แก้วมังกรนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์  

6. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง แก้วมังกรมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินซี ซึ่งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในระหว่างตั้งครรภ์ และยับยั้งการเกิดเนื้องอกด้วย  

7. ให้พลังงาน แก้วมังกรเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมทั้งเป็นพลังงานสำหรับคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ แก้วมังกร 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 9 – 14 กรัม

8. เป็นแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ แก้วมังกรประกอบด้วยไขมัน ซึ่งนอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังช่วยในการสร้างสมองของทารก แก้วมังกร 100 กรัม มีไขมันอยู่ 0.1 – 0.6 กรัม

อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติมคลิกที่นี่

รวบรวมและเรียบเรียงโดย…ฟันน้ำนมดอทคอม

ภาพแก้วมังกร : Wikipedia


Source link

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *