โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม

D.I.Y. โลชั่นทาตัวจากนมแม่ที่หมดอายุ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

             บ่อยครั้งที่คุณแม่ปั๊มนมมักพบว่า นมแม่ที่เก็บไว้เริ่มหมดอายุ จึงต้องทิ้งอย่างน่าเสียดาย หรือในบางครั้งนมที่สต็อกไว้มีปริมาณมากจนไม่มีที่เก็บ การนำนมแม่มาทำโลชั่นทาตัวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี เพราะนมแม่มีสารหลายชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน สารที่เกี่ยวข้องกับระบบคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulins) เม็ดเลือดขาว ฯลฯ โปรตีนที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรค เช่น แลคโตเฟอริน (lactoferrin) ไลโซไซม์ (lysozyme) โปรเท็กทีฟลิปิด (protective lipids) ฯลฯ โลชั่นทาตัวจากนมแม่ใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งสูตรนี้สามารถลดอาการแพ้ เป็นผื่นแดงที่ผิวหนัง คันเนื่องจากผิวหนังแห้ง และใช้กับผิวหนังที่ไหม้เกรียมเนื่องจากถูกแสงแดดเป็นเวลานาน

การทำโลชั่นทาตัวจากนมแม่ มี 2 แบบ คือ

1. แบบผสมกับโลชั่นทาตัวที่มีอยู่เดิม  

วิธีนี้ง่ายมากๆ เพียงแค่คุณนำนมแม่ผสมลงไปในโลชั่น/ครีม/ลาโนลินที่มีอยู่เดิม โดยควรเลือกสูตรที่ข้นหรือหนืด เนื่องจากหากเลือกสูตรที่เหลว เมื่อเติมนมแม่ลงไปจะทำให้เหลวมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ : หากเนื้อโลชั่น/ครีม/ลาโนลินเนื้อข้นมากจนไม่สามารถคนรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับนมแม่ได้ ควรนำโลชั่น/ครีม/ลาโนลีนดังกล่าวตักใส่ภาชนะและนำทั้งภาชนะไปแช่ในน้ำร้อน คนจนกว่าความหนืดลดลงหรือเริ่มเหลว ยกลงมาตั้งทิ้งไว้จนความร้อนลดลง จากนั้นจึงเติมนมแม่คนให้เข้ากัน

2. แบบผสมเองตามสูตร

ส่วนผสมและอุปกรณ์ของโลชั่นทาตัวจากนมแม่   

เตาไมโครเวฟ  

น้ำนมแม่ 3 ออนซ์

น้ำมันเมล็ดองุ่น (Grape seed oil) 3.5 ออนซ์  

ไขผึ้งหรือขี้ผึ้งแท้บริสุทธิ์ (Beeswax) 1 ช้อนโต๊ะ  

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม2

วิธีทำโลชั่นทาตัวจากนมแม่  

1. เทน้ำมันเมล็ดองุ่นและขี้ผึ้งลงในถ้วยที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน (ไม่ควรเติมไขผึ้งเกิน 1 ช้อนโต๊ะ ควรตักไขผึ้งให้เสมอขอบช้อนโต๊ะพอดี ไม่ควรล้นจนเกินไป)

โลชั่นนมแม่_ฟันน้ำนม3

2. นำถ้วยในข้อ 1. เข้าไมโครเวฟอุ่นเป็นเวลา 2.5 นาที

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม4

3. นำถ้วยที่มีน้ำมันเมล็ดองุ่นและขี้ผึ้งออกจากเตาไมโครเวฟ คนให้เข้ากัน จากนั้นเติมนมแม่ลงไป พร้อมทั้งคนทันที  

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม6

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม7

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม8

4. เทใส่ภาชนะทึบแสงที่มีฝาปิดมิดชิด

โลชั่นนมแม่ ฟันน้ำนม9

5. แช่ตู้เย็นในช่องแช่เย็นประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้เนื้อโลชั่นเซ็ทตัวพร้อมใช้งาน

การเก็บรักษา  

  • หากเก็บในตู้เย็นในช่องแช่เย็น เนื้อโลชั่นอาจข้นขึ้นเนื่องจากมีส่วนผสมของขี้ผึ้ง ดังนั้นหลังจากนำออกจากตู้เย็นแล้ว ควรตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนใช้
  • ไม่เก็บโลชั่นนมแม่ในที่มีแสงและความร้อน
  • ไม่ควรแช่แข็ง จะทำให้เนื้อโลชั่นแข็ง
  • โลชั่นนมแม่มีอายุ 3 เดือน

คำเตือน : ก่อนเริ่มใช้โลชั่นนมแม่ ควรทดสอบการแพ้โดยการทาโลชั่นที่ท้องแขนเป็นวงกลม ทิ้งไว้อย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง หากเกิดผื่นแดง แสดงว่าแพ้โลชั่นนมแม่

แนะนำสูตรโดย…ฟันน้ำนมดอทคอม

ขอบคุณภาพ/สูตรจาก :  


Source link

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *